Category Archives: กิจกรรมการเคลื่อนไหว

คาดสภาวะเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าเร็วกว่าสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาค

ที่ผ่านมาภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มมีความชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ภาวะการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวดีขึ้น มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มสูงขึ้น มีหลักทรัพย์เข้าใหม่เริ่มเข้ามาซื้อขายใน ตลท. และตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ค่าเงินบาทและการส่งออกยังไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีกลุ่มประเทศยุโรป (อียู) ชะลอความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย เนื่องจากยังไม่ได้มีการประกาศมาตรการคว่ำบาตรสินค้าของไทยออกมา แต่มองว่าแม้ว่ากลุ่มอียูจะมีการคว่ำบาตรก็ตาม ก็จะกระทบกับอุตสาหกรรมส่งออกบางกลุ่มเท่านั้น เมื่อเทียบกับการส่งออกรวมกับทั้งประเทศที่ถือว่าน้อยมาก

นโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยเริ่มเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนก่อสร้างโรงงานที่ต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องหาเงินดังกล่าวจากส่วนอื่นปล่อยกู้ให้แก่ภาคธุรกิจ ที่เป็นรูปแบบยืมเงินสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐระยะสั้น 3 เดือน หรือ 6 เดือน และนำมาปล่อยกู้ในระยะยาว 5 ปี ซึ่งจะเห็นว่าช่วงเวลาที่ยืมและปล่อยกู้นั้นจะไม่ชนกัน รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยกู้จะเป็นธนาคารขนาดใหญ่ ที่มีระบบบริหารจัดการที่ดีด้วยการออกหุ้นกู้ระยะยาว 5, 10 ปี เพื่อนำเงินมาปิดช่องว่างดังกล่าว

เนื่องจากสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาโดยมองว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ปกติเกิดขึ้น เช่น ความผันผวนของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ อย่าง ยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น ตลอดจนราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลง รวมทั้งผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงเกือบ 50% ซึ่งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของไทยได้รับผลกระทบโดยเฉพาะการแข่งขันทางการค้ากับประเทศคู่แข่ง ซึ่งการมองโอกาสในการเปิดตลาดประเทศที่ถูกคว่ำบาตร เพื่อให้เป็นเป้าหมายใหม่ในการส่งออก เพราะปัจจุบันเรื่องนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งต้องเป็นท่าทีของไทยเองด้วย ว่าจะมองเรื่องนี้อย่างไร แต่ทั้งนี้ ธปท.อยากให้ภาคเอกชนจัดระบบต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ เพราะหากการคว่ำบาตรเริ่มลดน้อยลง จะทำให้ภาคเอกชนสามารถกลับเข้าไปทำธุรกิจหรือการค้าขายกับประเทศนั้นๆได้ทันที

วิกฤติเศรษฐกิจต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนในเรื่องของตลาด

นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้มีการเลิกจ้างงาน ผู้ประกอบการปิดกิจการ ประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐมีความจำเป็นต้องเข้ามาดูแลความมั่นคงของทุนของผู้ประกอบการของสถาบันการเงินเพื่อหยุดยั้งประชาชนที่ทยอยถอนเงินฝากออกจากสถาบันการเงิน ทำให้สถาบันการเงินต่างๆ ขาดสภาพคล่องทางการเงินเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบกับหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการลงทุนภายในประเทศของผู้ลงทุน

ในช่วงแรกของการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจภาครัฐต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนในเรื่องของตลาด ได้แก่ ตลาดการเงิน ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดการลงทุนของภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยรัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องสำคัญๆ 7 เรื่อง เพื่อสร้างเสถียรภาพแก่ระบบเศรษฐกิจคือ

1. อัตราเงินเฟ้อ

2. อัตราดอกเบี้ย

3. เงินไหลออก

4. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ

5. เสถียรภาพของสถาบันการเงิน

6. ปัญหาทางสังคม

7. นโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ

นอกจากนี้รัฐได้ดำเนินนโยบายที่สำคัญเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจได้แก่

1. การดำเนินนโยบายการคลังด้วยวิธีการขาดดุลการคลังในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อรองรับการหดตัวทางเศรษฐกิจ

2. ใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินคือ การทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินนิ่ง มีสภาพคล่องทางการเงิน และอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

3. ฟื้นฟูสถาบันการเงินให้มีความความเข้มแข็งและมั่นคง

4. กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือปัญหาทางสังคมคือ รัฐเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโดยใช้ระบบความปลอดภัยทางสังคม( social safety net) เพื่อรองรับและให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีการอยู่ดีกินดีและช่วยเหลือตนเองได้

สำหรับปัจจัยที่แสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัวที่สำคัญได้แก่

1. การจับจ่ายใช้สอยของภาครัฐ ควรมีมาก

2. การอุปโภค บริโภคของประชาชนและภาครัฐ ควรมีมาก

3. การมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ดีเป็นการแสดงถึงความสามารถในการหาเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ

4. มีการขยายการลงทุนของภาคเอกชนทำให้มีการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้ ภาครัฐจึงต้องส่งเสริมและสร้างบรรยากาศการลงทุนเชิญชวนให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ เพื่อประเทศไทยจะได้เข้าสู่จุดสมบูรณ์มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ประชาชนไม่อยากให้ประเทศไทยเข้าสู่จุดวิกฤติเศรษฐกิจอีก ดังนั้นภาครัฐต้องกำหนดนโยบายการเงิน การลงทุน และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อสร้างระบบการเงินของประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีเสถียรภาพ เทียบเท่าและแข่งขันกับระบบการเงินของโลกได้ อีกทั้งต้องมีการปรับปรุงพัฒนาแผนพัฒนาระบบการเงินและแผนพัฒนาตลาดทุน เพื่อเตรียมพร้อมรองรับนโยบายการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและด้านการเงินในปี 2557 – 2558

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง (หดตัวร้อยละ -0.1) ต่อเนื่องจากปลายปี 2557 จากความเสี่ยงที่มาจากปัญหาการเมืองในช่วงไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจน่าจะปรับตัวดีขึ้นโดยจะเริ่มจากการบริโภคภาคเอกชนที่จะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 ส่วนการลงทุนจะเริ่มฟื้นตัวช้ากว่าคือไตรมาสที่ 4 ทำให้ทั้งปี 2557 เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 โดยการฟื้นตัวที่ช้านี้มาจากการส่งออกที่คาดว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในปี 2557 กลับปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี ทำให้เศรษฐกิจในปี 2557 ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ช่วงมิถุนายนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3

คาดว่าในปี 2558 การส่งออกน่าจะดีขึ้นตามการฟื้นตัวของสหรัฐฯ ทำให้ในปี 2558 เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวร้อยละ 5.4 ได้ โดยการปรับตัวที่สูงของการบริโภคและการลงทุนในประเทศทั้งโดยภาคเอกชนและรัฐบาลจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการฟื้นตัวในปี 2558 เช่นเดียวกับการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้นแต่การนำเข้าก็จะปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน และปรับตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของการส่งออกทำให้มูลค่าการค้าสุทธิไม่ได้ช่วยเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจเท่ากับการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวในอัตราที่สูงเนื่องจากเป็นการปรับตัวให้เข้าสู่ระดับดุลยภาพชดเชยที่ชะลอตัวในปี 2557

ปี 2557 คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 และ 1.5 ตามลำดับซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำโดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพราะราคาน้ำมันในปีนี้มีการปรับตัวขึ้นไม่มากทำให้ดัชนีราคาพลังงานน่าจะปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.6 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2553-2556 ซึ่งดัชนีราคาพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 โดยเฉลี่ย ดังนั้นคาดว่าในปี 2557 ปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพเงินเฟ้อจะไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ในระดับทรงตัวทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 เป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมในการปรับขึ้นราคาพลังงานในประเทศเช่นLPG, NGV เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านราคาในภาพรวมที่น้อยเมื่อเทียบกับช่วงอื่นๆและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2558 น่าจะอยู่ที่ร้อยละ2.6และ1.8ตามลำดับซึ่งแม้ว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ก็ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพเศรษฐกิจ

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ที่ผู้ลงทุนควรคำนึงถึง

 

ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ ปัญหาทางเศรษฐกิจอาจส่ง ผลกระทบต่อปัญหาอื่น ๆ ได้อีกมากมาย และก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้ลงทุนได้มากที่สุด ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ที่ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงได้แก่

• สภาพคล่องทางการเงิน เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน หมายความว่าธุรกิจหรือกิจการทั้งหลาย ขาดเงินหมุนเวียนที่จะใช้ในการดำเนินงาน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา

• อัตราดอกเบี้ย เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตขอ ง กิจการ หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม หากสภาพคล่องทางการเงินมีมาก อัตรา ดอกเบี้ยจะลดต่ำลง ผู้คนในสังคมจะมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัว ธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการลงทุน ในหลักทรัพย์ก็จะได้รับผลดีตามไปด้วย

• อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศหรือค่าเงิน ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ จะเกิดขึ้นเฉพาะอุตสาหกรรม ที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ หากค่าของเงินบาทอ่อนตัวลง ย่อมทำให้ ค่าใช้จ่าย ในการสั่งสินค้าเข้ามาผลิตหรือจำหน่ายสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับกิจการที่ส่งออกสินค้า หรือบริการ อาจได้รับผลดี อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยซึ่งอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ และมี ภาระหนี้สินต่างประเทศค่อนข้างมาก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง จะส่งผลในทางลบแก่ธุรกิจ

• การผลิต ซึ่งภาพโดยกว้างอาจหมายรวมไปถึงตลาดการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันคือ ตลาดต่างประเทศ หากอุตสาหกรรมภาคการผลิต และบริการของเรา สามารถผลิตและจำหน่ายสินค้า ที่ตรงตามความต้องการ ของประเทศคู่ค้าได้ ทั้งยังมีราคาและคุณภาพเหมาะสมหรือดีกว่าสินค้า จากประเทศคู่แข่ง มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ได้รับการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากภาครัฐ ปัจจัยเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้สามารถจำหน่ายสินค้าหรือบริการได้ดีขึ้น นำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาเสริมสร้างสภาพคล่องได้มากขึ้น และกำลังซื้อของประชาชนที่มีมากขึ้น จะกระจายผลดีไปยังกิจการอื่น ๆ ภายในประเทศได้

• ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า หากอยู่ในสภาพดี ความต้องการ สินค้าย่อมมีมากขึ้น ส่งผลดีต่อยอดขายและเม็ดเงินที่กลับเข้ามาในประเทศไทยในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจของ ประเทศคู่ค้าประสบปัญหา จะทำให้ยอดจำหน่ายสินค้า และบริการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศลดน้อยลง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

ปัญหาเศรษฐกิจของธุรกิจ SME ในประชาคมอาเซียน

jocasseefishing.com

จากสภาพปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ธุรกิจ SME ในไทยได้รับผลกระทบมากขึ้น และทุกวันนี้สิ่งที่ธุรกิจ SME กำลังเผชิญอยู่ก็มากอยู่แล้ว แต่ในอนาคตที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ AEC ธุรกิจ SME จึงต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยปรับแผนเศรษฐกิจทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีแนวทางการดำเนินงาน เพื่อที่คนไทยจะได้รับรู้ทั้งเรื่องโอกาส ผลกระทบ และแนวทางการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคธุรกิจของตนเอง

ปัญหาเศรษฐกิจทำให้สาขาธุรกิจได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพราะมีผลกระทบต่อการจ้างงาน สัดส่วนการส่งออก สัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ และสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนศักยภาพและโอกาสในการเติบโตเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทยในอนาคต โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบที่จะเกิดขึ้นหากพิจารณาจากแนวโน้มอุปสงค์ในตลาดโลก ก็จะทราบถึงวิวัฒนาการของการดำเนินธุรกิจของ SME

นักธุรกิจ SME ยังต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย

ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ นอกจากนี้ทางด้านผู้ประกอบการเองยังขาดจิตวิญญาณของการเป็นเจ้าของกิจการที่ดี และทักษะด้านการบริหารจัดการ ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างครบถ้วน การดำเนินกิจการงานต่างๆยังจำกัด ยังขาดแรงงานที่มีทักษะขั้นสูง โดยเฉพาะทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การใช้ภาษา

นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า SME ใน AEC

มีแนวโน้มจะให้ความสำคัญกับในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเองมากขึ้นในอนาคต มากกว่าประเทศนอกกลุ่มแม้จะอยู่ในภูมิภาคเอเซียเหมือนกัน เช่น จีน อีกทั้งตลาดดังกล่าวยังมีรายได้ในระดับสูง และมีความต้องการสินค้าอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และประเทศในกลุ่มเหล่านี้ก็มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

ประเด็นที่กล่าวมาล้วนเป็นปัญหาสำคัญของธุรกิจ SME ในยุค AEC เป็นประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แม้ว่าจะมีปัญหาในประเด็นอื่นๆด้วย เช่น การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การบริหารจัดการต้นทุน การแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ กฎหมายในแวดวงธุรกิจ เป็นต้น ประเทศในอาเซียนจำเป็นต้องตระหนักถึงประเด็นปัญหาเหล่านี้ และร่วมมือกันอย่างแท้จริงในการผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจ SME ทั้งขนาดใหญ่ และขนาดกลางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

แนวโน้มของเศรษฐกิจ และทิศทางด้านการเงิน ในปี 2557

แนวโน้มของเศรษฐกิจ และทิศทางในการดำเนินโยบายในปี 2557 ผ่านรายงานประจำปี 2556 โดยระบุว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะยังคงเผชิญความท้าทายในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแรงส่งของการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากปีก่อนที่แผ่วลง และข้อจำกัดในการใช้จ่ายของภาครัฐ ประกอบกับความผันผวนของตลาดการเงินโลก และความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง จะเป็นความท้าทายหลักต่อการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน

สำหรับการดำเนินนโยบายเพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินภายใต้ความไม่แน่นอนสูงในระยะสั้นนี้ จะต้องมีการวางกรอบนโยบายให้มีความยืดหยุ่น มีความน่าเชื่อถือ และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยในระยะข้างหน้าที่ความไม่แน่นอนยังมีสูง และปัจจัยเสี่ยงมีความหลากหลายและซับซ้อนขึ้น ธปท. จะให้ความสำคัญกับการผสมผสานนโยบายต่างๆอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการผสมผสานระหว่างนโยบายการเงิน นโยบาย Macro-prudential และนโยบายการคลัง ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ หรือเรียกว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ และเอกชน เพื่อให้เกิดการลงทุน การออม และการบริโภคอย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้ภาคการเงินมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถตอบสนองการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจจริงได้

ธปท. จะติดตามภาคเศรษฐกิจที่มีความเปราะบาง และอาจมีแนวโน้มสะสมความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นอย่างใกล้ชิด รวมถึงเตรียมการวางแผนป้องกันล่วงหน้า และที่สำคัญ ธปท. จะสื่อสารกับสาธารณชนในการทำความเข้าใจและปรับตัวในการรับมือกับความไม่แน่นอนดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ภูมิคุ้มกันของประเทศควรได้รับการดูแลให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว”

อย่างไรก็ตาม กระแสการตื่นตัวเรื่องการปฏิรูป โดยเฉพาะการตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจและสังคม เป็นเรื่องของทุกภาคส่วนที่ต้องทำร่วมกัน ตั้งแต่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคการเงิน และภาครัฐ โดยจะเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งกระบวนการปรับตัวเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะต่อไป ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งขึ้นได้ โดยในส่วนของ ธปท. ได้กำหนดทิศทางยุทธศาสตร์ และแผนงานให้สอดรับกับการปรับตัวที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจผ่านบทบาทหน้าที่ด้านพัฒนาการ หรือจะกล่าวก็คือ การดูแลให้ภาคการเงินสนับสนุนศักยภาพการแข่งขันของภาคเอกชนและกระจายความเจริญอย่างทั่วถึง

ความเคลื่อนไหวทางการเงิน และปัญหาเศษฐกิจส่งผลต่อธุรกิจ

กระแสการตื่นตัวเรื่องการปฏิรูป โดยเฉพาะการตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจและสังคม เป็นเรื่องของทุกภาคส่วนที่ต้องทำร่วมกัน ตั้งแต่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคการเงิน และภาครัฐ โดยจะเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งกระบวนการปรับตัวเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะต่อไป ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งขึ้นได้ ได้กำหนดทิศทางยุทธศาสตร์ และแผนงานให้สอดรับกับการปรับตัวที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจผ่านบทบาทหน้าที่ด้านพัฒนาการ หรือจะกล่าวก็คือ การดูแลให้ภาคการเงินสนับสนุนศักยภาพการแข่งขันของภาคเอกชนและกระจายความเจริญอย่างทั่วถึง

1.ด้านประสิทธิภาพ สถาบันการเงินสามารถทำหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ และภาคประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบทบาทในการสนับสนุนธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางจนถึงขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี (SMEs) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการยกระดับศักยภาพของประเทศไทย ในรูปของการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมทั้งระบบ E-payment ที่จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำและมั่นคงปลอดภัย

2.ด้านความสามารถในการแข่งขัน ระบบสถาบันการเงินมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และแข่งขันอย่างเหมาะสม โดยการยกระดับผู้เล่นเดิม และเปิดโอกาสให้มีผู้เล่นรายใหม่มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

3.ด้านเสถียรภาพ สถาบันการเงินมีความมั่นคง ได้รับการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ และสามารถรักษามาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อ ในขณะที่ ธปท. จะมีการเพิ่มศักยภาพในการสอดส่องดูแลเสถียรภาพระบบการเงินอย่างต่อเนื่องให้พร้อมรองรับกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4.ด้านการเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐานควบคู่กับการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเป็นระบบนั้น จะร่วมมือกับสถาบันการเงินส่งเสริมบริการทางการเงินที่ทั่วถึง มีคุณภาพที่ดี และต้นทุนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในขณะเดียวกันจะร่วมบูรณาการ และส่งเสริมการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันการเงิน ผ่านศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

5. จะวางภูมิทัศน์ของระบบการเงินให้ตอบสนองความต้องการของภาคเศรษฐกิจจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการรองรับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจการเงินกับต่างประเทศ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินให้มีศักยภาพรองรับพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้นต่อไป เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Common Vision)และเอื้อให้ระบบการเงินมีการปรับตัวอย่างสอดคล้อง ขณะเดียวกัน ธปท. ก็จะร่วมมือกับทุกภาคส่วน(Constructive Engagement)เพื่อผนึกกำลังในการขับเคลื่อนอย่างสอดประสาน (Synergy)อันจะนำไปสู่การกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของไทยต่อไป

เศรษฐกิจไทยในปี 57 โดยคาดว่าการส่งออกจะมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจคู่ค้า โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศยังคงขึ้นอยู่กับความชัดเจนของสถานการณ์ทางการเมืองไทย หากปัญหาดังกล่าวยืดเยื้อจะส่งผลบั่นทอนความเชื่อมั่นของภาคเอกชนเพิ่มเติมและทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง รวมทั้งทำให้การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐล่าช้าออกไปด้วย

ด้านแรงกดดันเงินเฟ้อในภาพรวมปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยในปี 57 เงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 56 ตามแรงกดดันด้านต้นทุนที่โน้มสูงขึ้นจากการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือนตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่งจะทำให้มีการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปได้มากขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าและบริการอื่นมีแนวโน้มทรงตัวตามราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่มีแนวโน้มลดลง

ทิศทางแนวโน้มการเคลื่อนไหวทางการเงินและเศรษฐกิจ ปี 2557

หากจะพูดถึงภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงปี 2556 ที่ผ่านมา คงต้องยอมรับกันว่า เศรษฐกิจค่อนข้างมีความผันผวนพอสมควร ด้วยสภาวะปัจจัยจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ เริ่มตั้งแต่สหรัฐอเมริกา เรื่องการจะปรับลดเม็ดเงินในมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐ ฯ ส่งผลให้ตลาดหุ้น ราคาทองคำ ราคาพันธบัตร มีความผันผวนตามไปด้วย ในส่วนของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียอย่างประเทศจีน ซึ่งมีการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ ด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน มีการปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้า ใ504154นส่วนของประเทศญี่ปุ่นยังคงมีการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป โดยจะเพิ่มปริมาณเงินในระบบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการจ้างงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านเศรษฐกิจของไทย เผชิญกับความท้าทายจากความไม่แน่นอน ทั้งปัญหาทางด้านการเมือง และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ภาระหนี้สิ้นภาคครัวเรือนที่ปัจจุบันหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อลดลง อัตราการขยายตัวภาคการส่งออกสินค้าไทยขยายตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งค่าเงินที่มีความผันผวน และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง หากมองโดยรวมแล้วอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกนั้น ค่อนข้างเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากปัจจัยที่ได้กล่าวมา ที่ส่งผลกระทบต่อกัน ด้วยความผันผวนของปัจจัยเหล่านี้ ทำให้นักลงทุน อาจมีความกังวลต่อการลงทุนหรือแผนทางการเงินที่ได้วางไว้

พิจารณาถึงทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจ ปี 2557 กันดูบ้าง ว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร ในส่วนของประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวประมาณ 4.5– 5.0%การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด คงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางการเมืองของไทย หากมองจากปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2557น่าจะมาจาก
1. ปัญหาทางด้านการเมือง การชุมนุม เสถียรภาพของรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารต่อในปี 2557ซึ่งอาจส่งผลถึงความเชื่อมั่นทางด้านการลงทุน
2. ปัญหาภาระหนี้สินภาคครัวเรือนของไทยที่มีอัตราสูงขึ้นจากปี 2556 ซึ่งอาจทำให้สถาบันการเงินต่างๆ มีการเข้มงวดมากขึ้นสำหรับการปล่อยสินเชื่อ
3.ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการขยายตัวภาคการส่งออกสินค้าไทย ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าภาคส่งออกจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในปี 2557
4.ค่าเงินบาท คาดการณ์ว่าอัตราค่าเงินบาท น่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีนี้
5. สถานการณ์ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่จะยังคงมีความผันผวนอยู่พอสมควร
6. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยเม็ดเงินมหาศาลของภาครัฐในโครงการ 2 ล้านล้านบาท ที่ชะลอหรืออาจเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยทางด้านการเมือง
7. ราคาของพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการขนส่ง ต้นทุนการผลิตที่อาจจะสูงขึ้น ทำให้อัตราค่าครองชีพมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
8. อัตราดอกเบี้ย ที่มีการคาดการณ์ว่าน่าจะทรงตัวเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2.5%แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่นั้น คงต้องรอดูกันอีกครั้งขณะที่
9. อัตราเงินเฟ้ออาจมีโอกาสปรับตัวขึ้นเล็กน้อย
10. การขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

 

ทิศทางสถานะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย ปี 2557 ยังขึ้นกับทางออกของสถานการณ์การเมือง


การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ยังคงตั้งอยู่บนสมมติฐานที่มีความไม่แน่นอนสูง ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นและยังไม่มีทางออกที่แน่ชัด ณ ขณะนี้ อาจทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะโน้มเอียงลงสู่กรอบล่างของประมาณการกรณีพื้นฐานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ร้อยละ 3.7 อย่างไรก็ตาม หากสัญญาณความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อเกินครึ่งปี ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น

เพราะฉะนั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2556 ท่ามกลางการหยุดชะงักของหลายกลไกขับเคลื่อน โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนซบเซาลง ท่ามกลางหลายปัจจัยที่กดดันบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะที่ สถานการณ์การส่งออกที่ไม่สามารถฟื้นตัวได้ทันในปี 2556 ก็เป็นทิศทางที่คลาดเคลื่อนไปจากที่หลายหน่วยงานตั้งเป้าหมายไว้ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยเริ่มต้นปี 2556 ด้วยทิศทางการทยอยปรับตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (หลังผ่านพ้นช่วงที่มีแรงกระตุ้นพิเศษจากมาตรการคืนเงินภาษีสำหรับรถคันแรกของรัฐบาล ตลอดจนแรงส่งการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยไปแล้ว) ก่อนจะพลิกกลับมาอยู่ในภาวะชะลอตัวที่ผิดไปจากที่คาดค่อนข้างมากตั้งแต่ในช่วงกลาง-ปลายปี 2556

ประเด็นเศรษฐกิจไทยปี 2557 หลายปัจจัยรอฉุดรั้งเส้นทางการฟื้นตัว
แนวโน้มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2557 ของไทย ยังมีความเสี่ยงอยู่ในช่วงขาลง ท่ามกลางตัวแปรท้าทายที่มาจากหลายด้านพร้อมกันตั้งแต่ในช่วงต้นปี ทั้งในส่วนที่เป็นปัจจัยเดิมๆ ของปี 2556 ที่ส่งผลต่อเนื่อง อาทิ ความกังวลต่อภาระค่าครองชีพ/หนี้ครัวเรือน การปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG/ค่าไฟฟ้า รวมถึงตัวแปรทางการเมืองในประเทศ ซึ่งคงจะต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่องในปี 2557 เพราะพัฒนาการของเหตุการณ์ จะมีนัยสำคัญค่อนข้างมากต่อแนวทางการลงทุน-การใช้จ่ายของภาครัฐ ตลอดจนภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ

การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ยังคงตั้งอยู่บนสมมติฐานที่มีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นและยังไม่มีทางออกที่แน่ชัด ณ ขณะนี้ อาจทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2557 จะโน้มเอียงลงสู่กรอบล่างของประมาณการกรณีพื้นฐานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ร้อยละ 3.7 ขณะที่ หากปัญหาทางการเมืองของไทยลากยาวเกินครึ่งปี จนกระทบการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งในส่วนการบริโภคภาคครัวเรือน การตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ และทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการใช้จ่ายของภาครัฐ ก็อาจส่งผลทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ในกรณีดังกล่าว แม้การส่งออกอาจขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย เศรษฐกิจไทยก็อาจขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น

ปัญหาทางเศรษฐกิจส่งผลให้ธุรกิจถดถอย

ปัญหาทางเศรษฐกิจส่งผลให้ธุรกิจถดถอย

ภาวะทางธุรกิจที่ถดถอยอย่างหนักในปัจจุบันอันมีต้นกำเนิดเกิดจากวิกฤต Sub-Prime (ซับไพรม์) ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่แพร่กระจายทั่วทุกมุมโลกอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการปล่อยกู้เงินที่มีความหละหลวมของสถาบันการเงินไปยังกลุ่มลูกค้าที่ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะผ่อนชำระเงินกู้ได้ ซึ่งนักสื่อสารมวลชนในไทยได้ตั้งฉายาของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ตามสัญลักษณ์และลักษณะของประเทศที่เป็นต้นกำเนิด แต่ไม่ว่าเราจะเรียกวิกฤตทางการเงินครั้งนี้ว่าอะไรก็แล้วแต่ มันไม่ใช่เรื่องสำคัญหรือสาระหลักที่จะมาเอ่ยถึงในบทความนี้ ใจความสำคัญของเราคือ การสร้างธุรกิจให้เจริญเติบโตในภาวะเศรษฐกิจที่ติดลบ ซึ่งหลายคนเมื่ออ่านมาถึงประโยคเมื่อสักครู่อาจจะต้องตั้งคำถามในใจว่าจะเป็นไปได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ขนาดนี้ ที่ทุกวันมีแต่ข่าวเลิกจ้าง ปลดพนักงาน ปิดกิจการ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังคงติดลบถ่ายทอดออกมาเป็นกราฟทางเศรษฐกิจที่ลูกศรทิ้งดิ่งลงมาอยู่ตลอดเวลา

เราควรเริ่มหาลูกค้ารายใหม่ๆ ให้กับบริษัท ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเหมือนกันในสภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว โดยอาจจัดตั้งทีมขึ้นมาสักหนึ่งทีมทำหน้าที่เสมือนกับพนักงานขายในห้างสรรพสินค้าแต่มีอะไรที่เหนือมากกว่าพนักงานขายทั่วไป ทำหน้าที่ค้นหาและสร้างลูกค้ารายใหม่ขึ้นมา ซึ่งการได้ลูกค้ารายใหม่เข้ามาจะทำให้สามารถกำหนดและสร้างตลาดในกลุ่มใหม่ๆ ได้อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นผลดีกับทางบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะการที่บริษัทมีลูกค้าใหม่เข้าเพิ่มมากขึ้นก็เปรียบเสมือนกับการขยายฐานพีระมิดที่จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับทางบริษัท จำไว้ว่า ยิ่งเศรษฐกิจมีภาวะถดถอยมากเท่าไร ยิ่งต้องหาลูกค้ารายใหม่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น การจัดการเงินส่วนสำคัญที่สุดที่ต้องดูคือ “กระแสเงินสดของบริษัท” หรือ Cash Flow อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการประกอบธุรกิจคือเรื่องของเงิน ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเงินจะเป็นสิ่งที่หายากมาก

ดังนั้นการจัดการควบคุมการใช้จ่ายเงินในบริษัทต้องทำอย่างรัดกุมและคุ้มค่าต่อเม็ดเงินมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในบริษัทที่จะต้องดูแลจัดการให้ดีมากขึ้นเป็นพิเศษ เพราะต้องนำเงินส่วนนี้ไปจ่ายเป็นค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ในบริษัท จ่ายเงินเดือนพนักงาน ซื้อวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิต ชำระสินเชื่อหรือเงินทุนที่กู้ยืมมาจากแหล่งต่างๆ หากกระแสเงินสดของบริษัทขาดสภาพคล่อง ควรรีบหาเงินมาสำรองจ่ายไปก่อนในทันที เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่อาจหยุดชะงัก ซึ่งหมายถึงรายได้ที่จะหายตามไปด้วย โดยปัญหาสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งที่พบบ่อยมากและเป็นอุปสรรคขัดขวางในการเจริญเติบโตทางธุรกิจก็คือ การจัดการกระแสเงินสดหมุนเวียนในบริษัทที่ไม่มีประสิทธิภาพ อันมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากลูกค้าของคุณจ่ายเงินชำระล่าช้านั่นเอง

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเงินที่ดีที่สุด คือการพึ่งพาตนเอง

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเงินที่ดีที่สุด คือการพึ่งพาตนเอง

 

เกี่ยวกับปัญหาที่ปั่นป่วน หรือว่าเกิดขึ้นภายนอกเรา เช่นเรื่องของการเงิน เศรษฐกิจ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์นั้น ได้ทำการสร้างสรรค์ขึ้นมา ด้วยจิตใจที่มโนขึ้นมาทดแทน เห็นว่าเป็นภาพนี้ นำสิ่งต่าง ๆ มาทำการแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดความสูงต่ำในชั้นสังคมอย่างมากมาย หลาย ๆ ประเทศมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและการเงินเป็นของตัวเอง แต่เชื่อหรือไม่ นานมาแล้วหลายปี กลับไม่มีใครสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างดีที่สุดเลย จนบางเราเองก็อาจจะลืมนึกย้อนไปในอดีตว่าคนสมัยก่อน เค้าไม่มีสิ่งสมมติทดแทน ก็ยังสามารถอยู่กันได้ ด้วยคำว่า “แบ่งปัน”

ดังนั้นการพึ่งตนเองเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ด้วยเหตุนี้นี่เองทำให้การแก้ปัญหาที่แท้จริง ๆ จากใจและความต้องการของเรานั้น ได้รับการแก้ไขอย่างเต็มที่และตรงจุดมากที่สุด เราไม่ต้องไปพึ่งพิงสิ่งภายนอกมากนัก หรือว่าต้องพึ่งพิงหลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่างมากนัก ทำให้เรารู้สึกว่ามั่นคงเต็มที่ ไม่ว่าจะเศรษฐกิจดีหรือร้ายอยู่ภายนอก แต่ให้เรารู้ ว่าเรานั้นก็มีมากพอ นี่เรียกได้ว่าเศรษฐกิจภายในของเรานั้นดีเป็นอย่างมาก

ถ้าเราแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในของเราได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะมีรากฐานชีวิตที่มั่นคง หากจะไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายนอกก็ย่อมได้ตามที่ตนเองต้องการ เพราะว่าเศรษฐกิจภายนอกเหล่านี้นั้น ถ้าหากจิตใจเราไม่ดีจริง หรือไม่เข้มแข็งจริง ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

ดังนั้นการพึ่งตนเองเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเงินภายในที่ดีที่สุด เมื่อเราแก้ปัญหาภายในเรียบร้อยแล้ว วางรากฐานชีวิตให้สำคัญเรื่องปากท้องต่าง ๆ นา ๆ ก็จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งอื่น ๆ ได้อีกอย่างมามายเลยนั่นเองครับ